Baan Aree'26


Fun Learning traditional Thai designs with JitdraThanee's Logo

        'แมน' หนุ่มน้อยชาวเมืองชากังราว (ชื่อเมืองดั้งเดิมในประวัติศาสตร์ของ จ. กำแพงเพชร) ส่งผลงานลายเส้นไทย มาร่วมแสดงครานี้อีก ๓ ภาพ ครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานของแมนครับ

ลัทธพล ต่ายหัวดง (แมน) , ๑๖ ปี | Man Lattapon's Facebook
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม , จ.กำแพงเพชร
อาชีพ red arrow กำลังศึกษาอยู่

แรงบันดาลใจ : ๑. ช่อฟ้านกเจ่าครับ ได้แรงบันดาลใจจากช่อฟ้ารูปนกสมัย ร.๔ ครับ
๒. พุทธบารมี
๓. เขียนหัวเขนยักษ์ครับ
คิดถึงห้องนี้มากครับ ><' ขอบคุณที่ให้คำแนะนำตลอดมาครับ

ส่งผลงานเมื่อ ๙ มิ.ย. ๒๕๕๗)
 






Man's portrait


  select arrowselect arrow

27
1234567891011121314151617181920212223242526272829


     แมนห่างหายจากการส่งผลงาน มานานมากเลยนะครับ (งานครั้งที่แล้วส่งมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ โผล่อีกทีก็ปี ๒๕๕๗ โฮ่ๆ) แต่ฝีไม้ลายมือก็พัฒนาดีวันดีคืน เป็นหลานชายสมาชิกกลุ่ม วาดเล่นๆ อีกคน ที่ผมเห็นผลงานมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กชายเลย

    รูปนี้แมนวาดได้สวยนะครับ ลวดลายไทยประดับหรูหรามาก วาดได้งามทีเดียว ช่วงคอนกเจ่า ยังปรับให้เรียวและดูระหงได้มากกว่านี้นะครับ อันนี้ดูหนักๆ ตื้อๆ ไปหน่อย เห็นแมนพูดถึง "ช่อฟ้านกเจ่า" หลายๆ คนอาจจะงง ไม่รู้จัก จริงเป็นการออกแบบช่อฟ้าของช่างไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจากช่อฟ้าตามวัด ทรงสูงๆ หงอนยาวแหลมๆ ที่เราเห็นจนคุ้นตาอยู่นะครับ ผมค้นหาข้อมูลจากทางเน็ต ได้รายละเอียดน่าสนใจดังนี้ครับ

ช่อฟ้านกเจ่า
    เป็นรูปแบบช่อฟ้าชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายหัวนก สร้างอย่างสมจริง มีจะงอยปากงุ้มแหลม และส่วนหัวเป็นเปลว โดยรูปแบบของช่อฟ้านกเจ่านี้ สร้างขึ้นในรัชสมัย ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เรียกได้ว่าเป็นแบบพระราชนิยม โดยปรากฏช่อฟ้าลักษณะนี้ที่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
    นอกจากนี้ยังพบว่า หอพระคันธารราษฎร์ ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ และพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ของสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ปรากฏช่อฟ้านกเจ่าที่เครื่องลำยอง อันแสดงสัญลักษณ์ของศิลปะแบบพระราชนิยมด้วยเช่นกัน

    กระทั่งในรัชกาลปัจจุบัน (ร.๙) ช่อฟ้านกเจ่าได้เข้ามามีบทบาทอีกครั้ง คือ ในการบูรณะศาลหลักเมืองเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้หลังคาของศาลที่แต่เดิมเป็นไม้นั้น ให้เป็นแบบปูนทั้งหมด นายช่าง จึงกราบบังคมทูลว่าทำได้โดยใช้ช่อฟ้านกเจ่าแทนช่อฟ้าไม้
    เมื่อพิจารณารูปแบบของช่อฟ้านกเจ่าที่มีมาแต่เดิมพบว่า ช่อฟ้านกเจ่าที่ศาลหลักเมืองนี้ มีรูปแบบต่างจากต้นแบบที่ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี และช่อฟ้านกเจ่าที่หอพระคันธารราษฎร์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เช่นเดียวกัน

    กล่าวคือ ช่อฟ้านกเจ่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น มีลักษณะที่ใกล้เคียงนกมากกว่า ส่วนของหัวก็ไม่มีลักษณะทรงสูงและสะบัดเป็นรูปเปลว ยังคงมีลักษณะป้านมน จึงมีความแตกต่างจากช่อฟ้านกเจ่าที่ศาลหลักเมือง ซึ่งมีรูปร่างคล้ายนาค
    เป็นไปได้ที่การออกแบบเพื่อให้ส่วนยอดของช่อฟ้าชลูด จึงจำเป็นให้ส่วนของปลายนั้นสูงขึ้นและมีลักษณะคล้ายเปลว จุดสังเกตของช่อฟ้านกเจ่า และหางหงส์เศียรนาคที่ชุดเครื่องลำยองที่ศาลหลักเมืองนั้น คือ ลายลำตัวที่มีลักษณะแตกต่างกันคือ ในส่วนของหางหงส์นั้นลำตัวมีเกล็ดอย่างนาคชัดเจน และส่วนของช่อฟ้า มีลวดลายคล้ายคลึงกับสัตว์ปีกอย่างหงส์
    ลักษณะที่กล่าวมาทั้งหมด กล่าวได้ว่า ช่อฟ้านกเจ่านี้ เป็นหนึ่งในช่อฟ้าที่เคยได้รับความนิยม และยังคงพบรูปแบบดังกล่าวในเครื่องลำยอง ที่ตกแต่งให้มีความ สมจริงและมีการประดับตกแต่งด้วยเครื่องกระเบื้อง แม้ว่าจะได้รับการปรับปรุงให้มีความแปลกแตกต่างไปจากเดิม ก็ยังคงเรียกช่อฟ้าในลักษณะเช่นนี้ว่า 'ช่อฟ้านกเจ่า' เช่นเดิม

(จากหนังสือพิมพ์ 'ธรรมลีลา' ฉบับที่ ๘๐, ก.ค. ๒๕๕๐ โดยนฤมล สารากรบริรักษ์)

ขอให้วาดเล่นๆ ให้สนุกครับ (๒๔ มิ.ย. ๒๕๕๗)
 
 

 


 


 
Histats.com, Created : 7 Dec.2010
   
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.