Baan Aree'26


Fun Learning traditional Thai designs with JitdraThanee's Logo

        'บิ๊ก' หนุ่มหน้ากลมที่ติดอันดับ ผู้ส่งผลงานมากที่สุดใน วาดเล่นๆ กับ จิด-ตระ-ธานี คราวนี้ 'หนุ่มบิ๊ก' ส่งผลงานลายไทยงามๆ มาให้ชมอีก ๔ ภาพครับ ระเบียง 'วาดเล่น ๆ กับ จิด-ตระ-ธานี' ยินดีที่ได้นำเสนอผลงานของ 'บิ๊ก' ครับ

 
อรรถนิติ ลาภากรณ์ (บิ๊ก) , ๓๐ ปี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง๖) , จ.ปทุมธานี

แรงบันดาลใจ : ชื่อภาพ "ญาณ ๑๖"
มีคนคัดลอกงานผมเยอะ เลยลองลอกงานคนอื่นๆ มาเพื่อให้เพื่อนๆ ได้ศึกษากันบ้างครับ เช่น ภาพ "ญาณ ๑๖" ที่ผมวาดได้ไอเดียมาจากงานของ "พี่ตุ้ม" ภาพที่ ๑ ครับ อยากบอกเพื่อนๆ ว่า ถึงแม้เราจะได้แรงบันดาลใจ มาจากงานคนอื่นที่เราประทับใจงานเค้า เราต้องเอามาประยุกค์ให้เป็นงานตัวเองครับ และมีความหมายใหม่ ที่ค้นคว้าขึ้นเอง เป็นงานชิ้นใหม่ เลยเขียนมาให้ชมกันดูครับ

ส่งผลงานเมื่อ ๒๒ ก.ค. ๒๕๕๓)
 
 








   

123456789101112131415161718192021222324252627282930313233
select arrowselect arrowselect arrow
3435363738394041424344464748495051525354555657585960


  ภาพนี้หนุ่มบิ๊กแถลงว่า ได้แรงบันดาลใจมาจากผลงานของคุณตุ้ม เทอดสิทธิ์ ภาพที่ ๑ ( คลิกชมที่นี่ ครับ) ผมเองก็ยอมรับว่างานของคุณตุ้มนี่ สวยจริงๆ นั่นแหละครับ เหมาะแล้วที่จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ในระเบียง "วาดเล่นๆ" แห่งนี้ แต่คนดูอาจจะงงๆ ว่า แล้วดวงตาพราวๆ ไปหมดมันเกี่ยวอะไรกับชื่อภาพ ที่บิ๊กนำเสนอด้วย เดี่ยวผมจะอธิบายย่อๆ ให้ฟังดังนี้นะครับ

     "ญาณ ๑๖" หรือ โสฬสญาณ (โสฬส แปลว่า "สิบหก" มาจากภาษาบาลี) เป็นการรวบรวมลำดับขั้นของญาณ รจนาโดยพระอรรถกถาจารย์ (คัมภีร์ชั้นหลังในพระไตรปิฎก) เพื่อเป็นการจำแนกให้เห็นภูมิธรรมทางปัญญา ที่เกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา (วิ แปลว่า "วิเศษ" ปัสสนา หรือ ทัศนา ทัศนะ แปลว่า "การเห็น" วิปัสสนาจึงหมายถึง "การเห็นอันวิเศษ" เห็นในที่นี้หมายถึง การเห็น รู้ตามความเป็นจริง ตามกฎของลักษณะสามัญ ๓ ประการ ซึ่งเป็นธรรมดาโลก คือกฎ "ไตรลักษณ์" นั่นเอง) ในญาณทั้ง ๑๖ นี้ มีเพียงมรรคญาณ และผลญาณเท่านั้น ที่จัดเป็นญาณขั้นโลกุตระ คือ เหนือ หรือหลุดพ้นจากโลกสมมุติทั้งปวง จึงจางคลายจากทุกข์ตามวิถีแห่งมรรค (ทางแห่งความพ้นทุกข์ มีองค์ ๘ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ตามผลนั้นๆ ส่วนที่เหลือยังจัดเป็นขั้นโลกียะทั้งสิ้น

ในทางปฏิบัติ ปรากฏการณ์ญาณ ๑๖ จะเกิดขึ้นเป็นขั้น เป็นตอน ตรงตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ โดยมีลำดับ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (หรือ สังขารปริเฉท) ญาณแยกนามรูป คือปัญญาหยั่งรู้เข้าใจในนามและรูป (นามรูป ก็คือ กาย + ใจ นั่นเอง)
๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ (หรือ สัมมาทัสสนะ) ญาณหยั่งรู้ปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญารู้ทั้งในนามและรูปว่า "ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย"
๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูป โดยไตรลักษณ์
๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙* (อ่านต่อข้างล่าง)
๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือช่วงต่อ ที่จะข้ามพ้นจากสภาวะปุถุชน
๑๔. มรรคญาณ (มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล ในชั่วมรรคจิต (ขณะจิตเดียว) ตามลำดับแต่ละขั้นของพระอริยบุคคล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณพิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลในขั้นหนึ่งๆ คืออริยบุคคลขั้นหนึ่งๆ หรือถึงพระนิพพาน

วิปัสสนาญาณ ๙
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและดับแห่งนามรูป
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงถึงด้วยความหน่ายต่อสังขารต่างๆ
๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย จากสังขารที่ก่อให้เกิดทุกข์ (คืออุปาทานใน "ขันธ์ทั้ง ๕" หรือกองแห่งทุกข์ ๕ อย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณหยั่งรู้อันพิจารณาทบทวน (พระไตรลักษณ์)
๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณหยั่งรู้อันเป็นไปโดยความเป็นกลาง (วางเฉย) ต่อสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ ๔

เอ้า...โม้มาซะยาว เดี๋ยวจะกลายเป็นการเรียนอภิธรรมไปซะก่อน ดูรูปถัดไปกันดีกว่านะครับ (๒๗ ก.ค. ๒๕๕๓)
 
 
 

 


 
 
 

 
     


 
Histats.com, Created : 7 Dec.2010
   
  Create and Maintained by JitdraThanee Copyright © 2008-2014 by JitdraThanee.com, All Rights Reserved. Best viewed 1280x800 pixels.